ประวัติความเป็นมา
พระตำหนักเขียว แต่เดิมเป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2493 นายสมบัติ สมบัติทวี ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิในสมัยนั้น สืบต่อมาเมื่อปี พุทธศักราช 2498พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มเสด็จฯ ออกไปทรงเยี่ยมราษฎรในท้องที่ชนบท เริ่มครั้งแรกที่จังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสาน โดยเสด็จฯ จังหวัดนครราชสีมาแล้วเสด็จฯ ต่อไปยังจังหวัดชัยภูมิ และประทับแรมที่จังหวัดชัยภูมิ ในวันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2498 เนื่องจากในสมัยนั้นจังหวัดชัยภูมิ ยังไม่มีโรงแรมที่ทันสมัยที่พระองค์ท่านจะประทับได้ นายสวัสดิ์วงศ์ ปฏิทัศน์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ในขณะนั้น จึงกราบบังคมทูลเชิญพระองค์ท่านประทับ ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัด โดยหลังจากพระองค์ท่านเสด็จกลับ ผู้ว่าราชการจังหวัดและประชาชนชาวชัยภูมิจึงขนานนามจวนผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ หลังนี้ว่า “ตำหนักเขียว” และได้อนุรักษ์ไว้ จวบจนทุกวันนี้ โดยมีการปรับปรุงซ่อมแซมมาแล้ว 2 ครั้ง จนกระทั่งนายประภากร สมิติ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ได้ทำการบูรณะตำหนักเขียวขึ้นมาใหม่เพื่อให้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดชัยภูมิ และเป็นการเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติดรบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 9 มิถุนายน 2549 เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้รำลึกถึงสถานที่สำคัญดังกล่าว
การบูรณะตำหนักเขียว
การแสดงนิทรรศการในพระตำหนักเขียว
ปัจจุบันจังหวัดชัยภูมิ ได้อนุรักษ์พระตำหนักเขียว เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์สำคัญของจังหวัดชัยภูมิ ได้แก่
1) นิทรรศการเหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระเข้าอยู่หัว เสด็จประพาสจังหวัดชัยภูมิ ในปี พ.ศ. 2498 จัดแสดงชั้นบน เป็นการตกแต่งห้องต่าง ๆ 5 ห้อง ได้แก่ ห้องพระสุธารส ห้องเสด็จประพาส ห้องทรงงาน ห้องเจ้าเมือง และห้องเครื่อง
2) นิทรรศการพิธีถวายดอกไม้จันทน์ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จังหวัดชัยภูมิ
3) นิทรรศการผ้าไหมชัยภูมิ