ประวัติความเป็นมา
วัดชัยภูมิวนาราม ตั้งอยู่บนถนนสายชัยภูมิ-ตาดโตน เลขที่ 107 หมู่ที่4 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ห่างจากศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ ประมาณ 1 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 50 ไร่ 10 ตารางวา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับใบอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2499 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2503
ได้เริ่มสร้างขึ้นตามคำแนะนำของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสมมหาเถระ) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระพิมลธรรม สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองสงฆ์ ซึ่งได้เดินทางมายังจังหวัดชัยภูมิ เพื่อตรวจการคณะสงฆ์และทำพิธีเปิดคีรีคงคาวนาราม ตำบลช่องสามหมอ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ โดย นายสวัสดิ์ วงศ์ปฏิทัศน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิในขณะนั้น และคณะข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนได้ต้อนรับเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในคืนของวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2498 ซึ่งท่านได้อบรมสั่งสอน ข้าราชการ และประชาชน ณ ศาลาการเปรียญวัดชัยประสิทธิ์ และได้พักแรมจำวัด ณ วัดชัยประสิทธิ์คืนหนึ่ง และที่วัดคีรี คงคาวนาราม ซึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาเปิดเป็นวัดวิปัสสนากรรมฐานแห่งแรกของจังหวัดชัยภูมิ ตั้งอยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดชัยภูมิ ประมาณ ๔๐ กิโลเมตรท่านจึงแนะนำว่าน่าจะมีวัดวิปัสสนากรรมฐานที่ตั้งอยู่ใกล้ตัวจังหวัด อีกแห่งหนึ่งเพื่อประโยชน์ในการอบรมประชาชน จากคำแนะนำของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ตาสง ก็ได้ให้ คำรับรองไว้ในที่ประชุมคืนนั้นว่าจะได้ร่วมกันสร้างวัดวิปัสสนากรรมฐาน ขึ้นให้สำเร็จจนได้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้กรุณาให้ชื่อวัดนี้ไว้ว่า "วัดชัยภูมิวนาราม” และมอบเงินก้อนหนึ่ง ซึ่งได้จากการบูชากัณฑ์เทศน์ใน คืนนั้นไว้เป็นทุนเริ่มแรกในการสร้างวัด โดยในครั้งนั้น นายสวัสดิ์ วงศ์ปฏิทัศน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ พระยาราชเสนา นายกพุทธสมาคมจังหวัดชัยภูมิ นายผล พันธุ์ประสิทธิ์ คหบดี ได้ถวายคำแนะนำแก่ท่านว่า บริเวณที่ดินว่างเปล่าอันเป็นป่าละเมาะโนนคลองแร่ ตำบลรอบเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ มีสภาพพื้นที่เหมาะสม พร้อมกับอาราธนาท่านไปตรวจดูสถานที่ ที่จะสร้างวัดด้วย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เมื่อได้ตรวจดู สถานที่แล้ว เห็นชอบด้วยและแนะนำไว้ว่า การสร้างนั้น สมควรสร้างตามแบบแผนผังมาตรฐานของกรมการศาสนา เพื่อเป็นวัดตัวอย่างเป็นศรีสง่าแก่จังหวัดชัยภูมิ
สถานที่สำคัญ
(๑) สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดชัยภูมิ แห่งที่ 9
- เจ้าอาวาส/ประธานสงฆ์ พระปริยัติกิจวิธาน
- กิจกรรมที่สอนและปฏิบัติ ได้แก่ การทำบุญตักบาตร การนั่งสมาธิ การปฏิบัติ
วิปัสสนา การเดินจงกรม
(๒) โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
(3) เป็นที่ตั้งสถาบันพลังจิตตานุภาพ ฝึกอบรม ปฏิบัติธรรม
(4) เป็นที่ตั้งของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด